วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผลการประเมิน ADL

สรุปผลการศึกษาความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ
ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีงบประมาณ 2554
การศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุในตำบลโคกเพชร เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในตำบลโคกเพชร  โดยการใช้แบบประเมิน ADL กลุ่มผู้เก็บข้อมูลเป็น อสม.ประจำหมู่บ้านๆนั้นๆ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในตำบลโคกเพชร จำนวน 586 ตัวอย่าง  เก็บข้อมูลในระหว่างเดือน กรกฎาคม 54 ที่ผ่านมา
                   วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาศักยภาพในการดูแลและการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุในตำบลโคกเพชรทุกคน
                   จากการศึกษาครั้งนี้  พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 586 คน เป็นหญิง ร้อยละ 56.50 เป็นชาย ร้อยละ 43.50 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยที่สุด ได้แก่ 60 ปี เป็นเพศชาย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 (นายพงษ์  ไกรราม) อายุมากที่สุด ได้แก่ 96 ปี เพศหญิง  อาศัยอยู่หมู่ที่ 3 (นางคิม  ศรีระษา)
                   ผู้สูงอายุมีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ บ้านระกา หมู่ที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 20.50 รองลงไป ได้แก่ บ้านภูมิศาลา หมู่ที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 18.30 รองลงไปได้แก่ บ้านเสลา หมู่ที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 11.90  หมู่บ้านที่มีจำนวนผู้สูงอายุน้อยที่สุด ได้แก่ บ้านตามูง  คิดเป็นร้อยละ 3.90
         
: กรมอนามัยได้ประยุกต์เกณฑ์การประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุม
คะแนนรวมของการประเมิน ADL ตำบลโคกเพชร


คะแนนรวม
จำนวน (ราย)
ร้อยละ
หมายเหตุ

0.00
1
0.20
นายพรหม แพงมา ม.4

3.00
1
0.20
นายเรือด ใจมนต์ ม.8

4.00
1
0.20
นางเน็บ ใจธรรม ม.4

6.00
1
0.20
นางอิว ศรีระษา ม.3

7.00
1
0.20
นายกำพล คำวงค์ ม.4

8.00
2
0.30
นางเภา สถานพงษ์ ม.6 (เสีย) นางกา ปราสาททอง ม.11

9.00
3
0.50
นายสุบี ใจมนต์ ม.5(เสีย)นางสมุทร์ ใจนวน ม.6


10.00

2

0.30
นายทน ใจมนต์ ม.8
นางบุญช่วย ดวงใจ ม.2 นายสังข์ ระหาร ม.2 (เสีย)

11.00
2
0.30
นางไสลา ใจมนต์ ม.2 นางชวน อสิพงษ์ ม.1

12.00
1
0.20
นางพุ พลคำ ม.4

13.00
1
0.20
นายพุฒ สถานพงษ์ ม.6

14.00
3
0.50
นางคิม ศรีระษา ม.3

15.00
2
0.30
นางเตย รัตนา ม.2 นายผาย มนต์ฤทธานุภาพ ม.5


16.00
3
0.50

นางหวี จันโท ม.1 นางมัด สิงห์เงิน ม.7                            นางเพียง ปิ่นหอม ม.7

17.00
7
1.20


18.00
18
3.10


19.00
40
6.80


20.00
496
84.60


รวม
586
100.00



การประเมิน ADL ในพื้นที่ตำบลโคกเพชร  มีประโยชน์สำหรับการทำงานเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  เพื่อการส่งเสริมและเฝ้าระวัง  ผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มต่างๆ
กลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มศักยภาพดังนี้
* ผลรวมคะแนน อยู่ในช่วง 0 4  คะแนน จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะ การ  พึ่งพา หรือ กลุ่ม 3 ตำบลโคกเพชร จำนวน 3 คน ต้องมีการติดตามเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลขุขันธ์ อย่างต่อเนื่องทุกเดือน  ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ เฝ้าระวังภาวะสุดท้ายของชีวิต
* ผลรวมคะแนน อยู่ในช่วง 5 11 คะแนน จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีระดับการพึ่งพา ระดับรุนแรง ถึงปานกลาง หรือ กลุ่มที่ 2 ในระหว่างที่มีการเก็บข้อมูล มีจำนวน 11 คน แต่เมื่อสรุปข้อมูล เสียชีวิต จำนวน 3 คน คงเหลือ 8 คน ที่อยู่ในกลุ่ม 2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภาวะโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนรุนแรง  ข้อน่าสังเกต คือ การเสียชีวิตไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ 1 แต่เป็นกลุ่มที่ 2  เพราะฉะนั้นการทำงานของ รพ.สต.โคกเพชร  ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้มีความสอดคล้องกับบริบทของพท่นที่
           * ผลรวมคะแนน ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป  จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพไม่ต้องการการพึ่งพา
         
การทำงานคงจะต้องมีการวางแผนสำหรับการทำงาน  การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในกลุ่มต่างๆต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประชุมทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

กำหนดการ
โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลโคกเพชร
วันที่ 19 ตุลาคม 2554
  หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร
วันที่  19 ตุลาคม 2554

08.30 09.00 น.    คณะกรรมการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ และคณะกรรมการขับเคลื่อนและบริหารแผนสุขภาพชุมชน ตำบลโคกเพชร ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

09.00 – 09.15 .      พิธีเปิด โดย นายรินนา  ดวงธนู  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพชร

09.15 – 10.30 น.     โรคระบาดในชุมชนและบทบาทของคณะกรรมการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ตำบลโคกเพชร
                          นายฤทธาธร  ดอกพอง   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
10.30 – 10.45 น.     พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 .     กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตำบลโคกเพชร
                          ทีมเจ้าหน้าที่สังกัด สสอ.ขุขันธ์ (นายสมสนอง  พันธ์จันทร์,นายรณรงค์  ยกพล   นายพุทธิไกร ประมวล,นายปริวัฒน์ กอสุระ)

12.00 – 13.00 .     พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.     กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตำบลโคกเพชร (ต่อ)
                          ทีมเจ้าหน้าที่สังกัด สสอ.ขุขันธ์
14.30 – 14.45 น.     พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 16.30 น.     กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตำบลโคกเพชร (ต่อ)
                          ทีมเจ้าหน้าที่สังกัด สสอ.ขุขันธ์
                          สรุปผลการประชุมและปิดการประชุม
                          นางลมเย็น  ศรีผุย  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โคกเพชร


******************************

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบประเมิน ADL และประเมินซึมเศร้า

   รพ.สต.โคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการนำแบบประเมิน ADL มาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุให้เหมาะสมต่อการดูแล ตามแบบประเมินนี้ค่ะ
ชื่อ………................................................วันเกิด.........................(อายุ)........ปี ที่อยู่............................
ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล  (Barthel   ADL  index)
๑. Feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า)
                o๐.   ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้
                o๑.   ตักอาหารเองได้แต่ต้องมีคนช่วย เช่น ช่วยใช้ช้อนตักเตรียมไว้ให้หรือตัดเป็นเล็กๆไว้ล่วงหน้า
                o๒.   ตักอาหารและช่วยตัวเองได้เป็นปกติ
๒. Grooming (ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะเวลา ๒๔ -  ๒๘ ชั่วโมงที่ผ่านมา)
                o๐.   ต้องการความช่วยเหลือ
                o๑.   ทำเองได้ (รวมทั้งที่ทำได้เองถ้าเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้)
๓. Transfer (ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตียงไปยังเก้าอี้)
                o๐.   ไม่สามารถนั่งได้ (นั่งแล้วจะล้มเสมอ) หรือต้องใช้คนสองคนช่วยกันยกขึ้น
                o๑.   ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากจึงจะนั่งได้ เช่น ต้องใช้คนที่แข็งแรงหรือมีทักษะ ๑ คน หรือใช้คน ทั่วไป ๒  คนพยุงหรือดันขึ้นมาจึงจะนั่งอยู่ได้
                o๒.   ต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น บอกให้ทำตาม หรือช่วยพยุงเล็กน้อย หรือต้องมีคนดูแลเพื่อความปลอดภัย
                o๓.   ทำได้เอง
๔. Toilet   use (ใช้ห้องน้ำ)
                o๐.   ช่วยตัวเองไม่ได้
                o๑.   ทำเองได้บ้าง (อย่างน้อยทำความสะอาดตัวเองได้หลังจากเสร็จธุระ) แต่ต้องการความช่วยเหลือในบางสิ่ง
                o๒.   ช่วยตัวเองได้ดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถส้วมเองได้ ทำความสะอาดได้เรียบร้อยหลังจากเสร็จธุระ ถอดใส่เสื้อผ้าได้เรียบร้อย)
๕. Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน)
                o๐.   เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้
                o๑.   ต้องใช้รถเข็นช่วยตัวเองให้เคลื่อนที่ได้เอง (ไม่ต้องมีคนเข็นให้) และจะต้องเข้าออกมุมห้องหรือประตูได้
                o๒.   เดินหรือเคลื่อนที่โดยมีคนช่วย เช่น พยุง หรือบอกให้ทำตาม หรือต้องให้ความสนใจดูแลเพื่อความปลอดภัย
                o๓.   เดินหรือเคลื่อนที่ได้เอง
๖. Dressing (การสวมใส่เสื้อผ้า)
                o๐.   ต้องมีคนสวมใส่ให้ ช่วยตัวเองแทบไม่ได้หรือได้น้อย
                o๑.   ช่วยตัวเองได้ประมาณร้อยละ ๕๐ ที่เหลือต้องมีคนช่วย
                o๒.   ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดุม รูดซิบ หรือใช้เสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เหมาะสมก็ได้)
๗. Stairs (การขึ้นลงบันได ๑ ชั้น)
                o๐.   ไม่สามารถทำได้
                o๑.   ต้องการคนช่วย
                o๒.   ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)
๘. Bathing (การอาบน้ำ)
                o๐.   ต้องมีคนช่วยหรือทำให้
                o๑.   อาบน้ำเองได้
๙. Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ ๑ สัปดาห์ที่ผ่านมา)
                o๐.   กลั้นไม่ได้ หรือต้องการการสวนอุจจาระอยู่เสมอ
                o๑.   กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่า ๑ ครั้งต่อสัปดาห์)
                o๒.   กลั้นได้เป็นปกติ
๑๐.Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ ๑ สัปดาห์ที่ผ่านมา)
                o๐.   กลั้นไม่ได้ หรือใส่สายสวนปัสสาวะแต่ไม่สามารถดูแลเองได้
                o๑.   กลั้นไม่ได้บางครั้ง (เป็นน้อยกว่าวันละ ๑ ครั้ง)
                o๒.   กลั้นได้เป็นปกติ
หมายเหตุ : กรมอนามัยได้ประยุกต์เกณฑ์การประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุม
กลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มศักยภาพดังนี้
* ผลรวมคะแนน อยู่ในช่วง 0 4  คะแนน       จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะ การ  พึ่งพา หรือ กลุ่ม 3
* ผลรวมคะแนน อยู่ในช่วง 5 11  คะแนน จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีระดับการพึ่งพา ระดับรุนแรง ถึงปานกลาง หรือ กลุ่มที่ 2
* ผลรวมคะแนน ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป        จัดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพไม่ต้องการการพึ่งพา  หรือ กลุ่มที่ 1
แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2Q)

ลำดับที่
คำถาม
มี
ไม่มี
1
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือ ท้อแท้สิ้นหวังหรือไม่


2
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่ เพลิดเพลินหรือไม่



แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q)

ลำดับที่
คำถาม
ไม่มีเลย
เป็นบางวัน
1 7 วัน
เป็นบ่อย
> 7 วัน
เป็นทุกวัน
1
เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร
0
1
2
3
2
ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
0
1
2
3
3
หลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป
0
1
2
3
4
เหนื่อยง่าย หรือ ไม่ค่อยมีแรง
0
1
2
3
5
เบื่ออาหาร หรือ กินมากเกินไป
0
1
2
3
6
รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่า ตัวเองล้มเหลว หรือ ทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง
0
1
2
3

7
สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์  ฟังวิทยุ  หรือ ทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
0
1
2
3
8
พูดช้า ทำอะไรช้าจนคนอื่นสังเกตเห็นได้  หรือกระสับกระส่ายไม่สามารถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น
0
1
2
3
9
คิดทำร้ายตนเอง หรือ คิดว่าถ้าตายไปคงจะดี
0
1
2
3